SME D Bank (ธพว.) ร่วมมือกับ กรมธนารักษ์ ในการปล่อย สินเชื่อผู้เช่าอาคารราชพัสดุ ผ่อนนาน 7 ปี วงเงินโครงการ 500 ล้านบาท (23 มิ.ย. 2565) ธพว. ออกสินเชื่อใหม่ วงเงิน 500 ล้านบาท สร้างทางเลือกใหม่ ผลักดันเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน นำสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ มาเป็นหลักประกันได้ นำร่องพื้นที่ 8 จังหวัดเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุดรธานี นครราชสีมา กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี และสงขลา
นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank
เผยว่า ธพว. ออกสินเชื่อใหม่ – โครงการ สินเชื่อผู้เช่าอาคารราชพัสดุ ของกรมธนารักษ์ วงเงิน 500 ล้านบาท สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สามารถนำสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ประเภทสัญญาเช่า อาคารราชพัสดุ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เขตเทศบาลนคร เทศบาลเมือง มาใช้เป็นหลักประกันได้ นับเป็นการสร้างทางเลือกใหม่ เพิ่มโอกาสผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน โดยไม่ต้องใช้ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง มาเป็นหลักประกัน
ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs มีเงินทุนไปเสริมสภาพคล่อง เดินหน้าธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่อง ก่อให้เกิดการจ้างงาน เพิ่มรายได้ในพื้นที่ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม
ทั้งนี้ จากที่ ธพว. สอบถามความต้องการผู้ประกอบการ SMEs ในพื้นที่ รวมถึง สำรวจพื้นที่จังหวัดที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ เบื้องต้นนำร่องให้บริการสินเชื่อดังกล่าวในพื้นที่ 8 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุดรธานี นครราชสีมา กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี และ สงขลา
คุณสมบัติเปิดกว้าง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล วงเงินสูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น MLR+1.50% ต่อปี (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR = 6.750% ต่อปี) ระยะเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 7 ปี
วัตถุประสงค์เพื่อให้นำไปลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง และเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ
เปิดรับคำขอกู้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมของโครงการแล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน
สามารถแจ้งความประสงค์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ธนาคาร www. smebank .co.th, LINE Official Account : SME Development Bank และสาขาของ ธพว.ทั่วประเทศ
รัฐบาล ยืนยัน! จ่าย ‘เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุรายได้น้อย’ แน่นอน
รัฐบาลได้ออกมาประกาศเน้นย้ำถึงการจ่าย เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุรายได้น้อย โดยกระบวนการจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ภายในช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 นี้
วันที่ 24 มิถุนายน 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงผู้สื่อข่าวต่อประเด็นการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษเพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากค่าครองชีพ กรอบวงเงิน 8.38 พันล้านบาท สำหรับผู้สูงอายุ 10.9 ล้านคน ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน – กันยายน 2565 เฉลี่ยรายละ 100-250 บาท ตามช่วงอายุ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการไปแล้วนั้น
โดยให้ความชัดเจนว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นการเสนอขออนุมัติงบกลาง ปี 2565 จากคณะรัฐมนตรี ทางกรมบัญชีกลางคาดว่าจะสามารถโอนเงินช่วยเหลือถึงมือผู้สูงอายุในช่วงกรกฎาคมนี้ ที่จะครอบคลุมเงินช่วยเหลือย้อนหลังตั้งแต่เดือน เมษายน-กรกฎาคม และจะทยอยอีกสองงวดที่เหลือในรอบเดือนต่อๆไป
สำหรับการจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อการยังชีพ หรือ เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุรายได้น้อย ในครั้งนี้ จะจ่ายเพิ่มจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นรายเดือนตามช่วงอายุ เป็นระยะเวลา 6 เดือน กล่าวคือ
1. อายุ 60 -69 ปี รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600 บ./เดือน รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 100 บ./เดือน รวมเป็น 700 บ./เดือน
2. อายุ 70 -79 ปี รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 700 บ./เดือน รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 150 บ./เดือน รวมเป็น 850 บ./เดือน
3. อายุ 80 -89 ปี รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 800 บ./เดือน รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 200 บ./เดือน รวมเป็น 1,000 บ./เดือน
4. อายุ 90 ปีขึ้นไป รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 1,000บ./เดือน รับเงินช่วยเหลือพิเศษเพิ่ม 250 บาท/เดือน รวมเป็น 1,250บ./เดือน
ทั้งนี้ ลูกค้าที่ต้องการลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการ 9-11 ระยะแรก ต้องดาวน์โหลดหลักฐานยืนยันว่ามีผลกระทบทางรายได้ผ่านทาง Application : GHB ALL ให้ธนาคารพิจารณา เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองจากหน่วยงานต้นสังกัด ภาพถ่าย หรือ Statement เป็นต้น ส่วนดอกเบี้ยประจำงวดที่ตัดชำระไม่หมดในขณะที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป